วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13-17 ธันวาคม 2553

ตอบ  4

บทนำ
สังคมปัจจุบัน กำลังมีความกังวลและมีข้อข้องใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งมีทั้งพืชสัตว์และจุลินทรีย์ หรือที่เราเรียกกันว่า จีเอ็มโอ” (GMOs) ว่าการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอจะมีผลกระทบต่อร่างกายหรือไม่ อย่างไร ทั้งในแง่ประโยชน์และโทษ เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่นี้มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้และทำความรู้จักกับ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ดัดแปรพันธุกรรมเหล่านี้ เพื่อที่จะได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและมีความเข้าใจในประเด็นความมากขึ้น
เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับจีเอ็มโอ รวมทั้งอาหารที่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องและไขข้อสงสัยต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นเช่น ผลกระทบต่อร่างกายจากการบริโภคอาหารที่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบ รวมถึงหน่วยงานในประเทศไทยที่มีหน้าที่ตรวจสอบจีเอ็มโอในอาหารทั้งที่เป็นวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป หากเรามีความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องแล้วก็จะสามารถศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์จากจีเอ็มโอ ในการพัฒนาการบริโภคและการเกษตรกรรมของไทยต่อไป
1.จีเอ็มโอ คืออะไร มีอันตรายหรือไม
จีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (เทคนิกการตัดต่อยีน) ในพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ เช่น ต้านทานแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมหรือเพิ่มสารโภชนาการบางชนิด เช่น วิตามิน
การพิจารณาว่าจีเอ็มโอปลอดภัยต่อผู้บริโภคและ/หรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการทดสอบหลายด้านเพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีบทบาทในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป และก่อนที่ผู้ลิตรายใดจะนำจีเอ็มโอ หรือผลผลิตจากจีเอ็มโอแต่ละชนิดออกไปสู่ผู้บริโภคได้นั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอทุกชนิด ทั้งที่นำมาบริโภคเป็นอาหาร หรือนำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มีความปลอดภัย
2.จีเอ็มโอ คือ สารปนเปื้อน ที่มีอันตรายใช่หรือไม่
จีเอ็มโอ ไม่ใช่สารปาเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จีเอ็มโอคือสิ่งมีชีวิตที่เป็นผลพวงของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติที่ดีตามที่ต้องการ เช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะที่สุกงอมช้ากว่าปกติ การดัดแปรพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง เป็นต้น
ดังนั้นการใช้คำว่า ปนเปื้อนในกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ ปนเปื้อนมีความหมายในลักษณะที่ไม่ต้องการให้มี เช่น ไม่ต้องการให้สารปรอทหรือสารหนูปนเปื้อนในอาหาร
3. การตัดต่อทางพันธุกรรมหรือการดัดแปรพันธุกรรมนั้นทำอย่างไร มีการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่
การดัดแปรพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต คือ การนำสารพันธุกรรม (หรือที่เรียกว่า ยีน) ที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการ ถ่ายใส่เข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เราต้องการดัดแปรพันธุกรรม
วิธีการถ่ายยีน มีด้วยกันหลายวิธี แล้วแต่ว่าเราจะถ่ายยีนเข้าสู่สิ่งมีชีวิตชนิดใด พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม หลักสำคัญของการถ่ายยีนก็คือ
- ยีนที่จะถ่ายเข้าไปนั้นจะต้องมีความบริสุทธิ์ไม่มีสารใดปนเปื้อน เพราะสิ่งสกปรกจะลดประสิทธิภาพของการถ่ายยีน
- วิธีที่ใช้ถ่ายยีน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระแสไฟฟ้า หรือสารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย หรือการยิงกระสุนทองคำเคลือบชิ้นยีน โดยใช้แรงดันลมจากก๊าซเฉื่อย หรือการใช้แบคทีเรียชื่อ อะโกรแบคทีเรีย” (ซึ่ง 2 วิธีหลังนี้ใช้สำหรับการถ่ายยีนเข้าพืชเท่านั้น) วิธีต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะต้องมีประสิทธิภาพดีในการนำพาชิ้นยีนเข้าสู่เซลล์แล้ว ยังต้องไม่ทำอันตรายต่อเซลล์ เพราะมิฉะนั้นแล้วเซลล์ที่ได้รับการถ่ายยีนจะไม่สามารถเจริญขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่สมบูรณ์ได้
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าในขั้นตอนของการดัดแปรพันธุกรรมนั้น ย่อมมีสารเคมีหรือสารชีวภาพบางตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สารเหล่านั้นจะถูกกำจัดออกไปในขั้นตอนการทำความสะอาดชิ้นยีนก่อนการถ่ายยีน ส่วนสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายยีนนั้น เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิต
4. อาหารประเภทใดบ้าง ที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ
อาหารที่มีอาจมีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอที่มีอยู่ในปัจจุบัน และพบได้ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น แคนาดา และอื่นๆ ได้แก่ อาหารประเภทถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะละกอ และผักบางชนิด เป็นต้น แต่อาหารเหล่านี้ได้ผ่านขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวดมาแล้ว จึงสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ ในกรณีน้ำนมจากแม่โคที่ได้รับฮอร์โมนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนั้น ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าพบสารนี้ตกค้างในน้ำนม อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนี้ ไม่ใช่จีเอ็มโอ
5. หากเราเปรียบเทียบการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ กับอาหารทั่วไป ประโยชน์หรือโทษที่จะได้รับหรือผลที่มีต่อร่างกายจะมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอจะต้องผ่านกระบวนการประเมินความปลอดภัยโดยใช้หลักการเทียบเท่า” (Substantial equivalence) ตามมาตรฐานสากล Codex และได้รับอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลก่อนนำออกจำหน่ายแก่ผู้บริโภค เช่น ในประเทศไทยกำหนดไว้ว่า ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปทุกประเภทต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอซึ่งผ่านกระบวนการประเมินความปลอดภัยและได้รับรองจาก อย.แล้วนั้น มีคุณประโยชน์หรือโทษไม่แตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันกับที่ไม่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ
ตามปกติแล้วคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ และอาหารทั่วไปนั้นมีความเทียบเท่ากัน เว้นแต่กรณีที่มีการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการบางอย่างเข้าไปในจีเอ็มโอซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหาร อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอนั้น ก็จะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าอาหารปกติ
6. ผลกระทบของอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ ที่มีต่อร่างกายมีในทางลบหรือไม่ และมีความแตกต่างกันไหมระหว่างผลที่มีกับเด็ก หรือผู้ใหญ่
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นต่อร่างกายของผู้บริโภคทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอที่มีจำหน่ายในท้องตลาดและได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยมาแล้ว
7. ถ้ารับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอในตอนนี้ จะเกิดผลเสียกับร่างกายในอนาคตหรือไม่ จะแน่ใจได้อย่างไร
ขณะนี้ยังไม่มีการรายงานว่า ผู้บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอเข้าไปแล้ว อาหารนั้นจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว เนื่องจากการพัฒนาพันธุ์โดยเทคโนโลยีชีวภาพนั้นมีความจำเพาะสูง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับวิธีการพัฒนาพันธุ์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้แล้วข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการประเมินความปลอดภัยนั้น จะต้องพิสูจน์ได้ว่าสารพันธุกรรมและผลผลิตที่เกิดขึ้น จะต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย
อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอได้มีการผลิตในเชิงพาณิชย์และมีการบริโภคกันมา 9-10 ปีแล้ว ส่วนในทางการแพทย์นั้นเทคโนโลยีดัดแปรพันธุกรรมได้เข้ามามีบทบาทนานมากแล้ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ อินซูลิน ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน และยังมียารักษาโรคอีกหลายชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีนี้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีรายงานถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้อินซูลิน ยา และอาหารที่ได้ออกจำหน่ายไปแล้ว
8. จริงหรือไม่ที่อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอมีสารก่อให้เกิดมะเร็งหรือทำให้เป็นมะเร็ง
ยังไม่มีรายงานใดที่แสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอจะเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง ในทางตรงกันถ้ารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้าง หรือสารพิษของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด หรืออาหารที่ไหม้เกรียมจะมีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งในร่างกาย
9. จริงหรือไม่ ที่รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอแล้วก็เหมือนเป็นอาหารผีดิบ เพราะมีการตัดต่อพันธุกรรมจะทำให้ร่างกายเปลี่ยนไป หรือพันธุกรรมของคนเปลี่ยนไป
แท้ที่จริงแล้วอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอไม่ใช่อาหารผีดิบแต่อย่างใด การที่มีการเรียกชื่ออาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอว่าเป็นอาหารผีดิบนั้น เป็นเพราะความไม่เข้าใจถึงพื้นฐานทางวิชาการที่ถูกต้อง และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ หรือข้อมูลทางการแพทย์ ที่บ่งชี้ว่าการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ จะทำให้พันธุกรรมของมนุษย์เปลี่ยนไป เนื่องจากในความเป็นจริงเมื่อมนาย์บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ ส่วนประกอบทั้งหมดในอาหารจะถูกย่อยสลาย โดยระบบย่อยอาหารของมนุษย์ เช่นเดียวกันกับอาหารที่ไม่มีจีเอ็มโอ หลังจากนั้นร่างกายจะนำสารอาหารที่ได้จากย่อยสลายไปใช้ประโยชน์
10. ในอนาคตควรพิจารณาอย่างไรว่าอาหารใดปลอดภัยที่จะรับประทาน ควรงดอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ เลยใช่หรือไม่
หากพิจารณาบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอที่ผ่านการประเมินความปลอดภัยแล้วนั้น มีความปลอดภัยไม่แตกต่างจากอาหารชนิดอื่น
11. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอในประเทศไทย มีมาตรการอย่างไรที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าอาหารจีเอ็มโอปลอดภัย และมีหน่วยงานใดที่ให้บริการตรวจสอบจีเอ็มโอในอาหาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารทุกชนิด รวมถึงอาหารจีเอ็มโอ โดยมีมาตรการความปลอดภัยของอาหารทุกชนิด รวมถึงอาหารจีเอ็มโอ โดยมีมาตรการความปลอดภัยคือ อาหารที่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบจะต้องผ่านการพิจารณาประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยผู้เชี่ยวชาญก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้
นอกจากนี้ อย.ยังได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 251) พ.ศ.2545 เรื่องการแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิกการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค โดยประกาศฯ ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เทื่อวันที่ 11 พ.ค. 2546 ส่วนหน่วยงานในประเทศไทยที่ให้บริการตรวจสอบจีเอ็มโอในผลิตภัณฑ์อาหารได้แก่ห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสถาบันอาหาร
12. อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอนั้นมาจากประเทศใดบ้าง
วัตถุดิบที่จะนำมาใช้เป็นอาหารส่วนใหญ่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา อาเจนตินา แคนาดา และในอนาคตอาจจะมีจากกลุ่มประเทศในยุโรป เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ สหภาพยุโรปได้อนุญาให้ประเทศสมาชิกสามารถปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมเพื่อการค้าแล้ว
13. มีหน่วยงานใดทั้งในและต่างประเทศที่ดูแลความปลอดภัยของอาหารจีเอ็มโอ

ไม่ว่าจะเป็นอาหารจีเอ็มโอ หรืออาหารที่ไม่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบ อาจมีความเสี่ยงได้ทั้งสิ้น เช่น สารตกค้างบางชนิดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นต้น ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าไม่มีสิ่งใดที่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามอาหารจีเอ็มโอที่จะออกมาสู่ผู้บริโภค จะต้องผ่านการประเมินแล้วว่ามีความปลอดภัยเทียบเท่ากับอาหารที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ
องค์กรที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องดังกล่าวภายในประเทศได้แก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ส่วนองค์กรในต่างประเทศได้แก่ USFDA ในสหรัฐอเมริกา Health Canada ในประเทศแคนาดา และ The Royal Society ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น
14. จีเอ็มโอเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากน้อยแค่ไหน อย่างไร

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมีการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันผลผลิตของประเทศได้รับความเสียหายอย่างมากจากโรคและแมลงศัตรูพืช ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังไม่ประสบผลสำเร็จ จึงต้องมีการเลือกใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมมาช่วยแก้ปัญหา
การดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรมเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาวะดินเค็ม ดินเปรี้ยว เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากด้านการเกษตรแล้ว ยังมีการนำไปใช้อุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ อินซูลินที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัคซีนบางชนิด และเอนไซม์ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็ง เป็นต้น
15. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารชนิดไหนปลอดภัย หรือถูกตรวจสอบและได้รับอนุญาตแล้วว่าปลอดภัย

ในประเทศไทย อาหารที่ได้การรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาถือได้ว่าผ่านการตรวจสอบและมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะบริโภค

ตอบ  2
ศัพท์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรม
    แอลลีล (Allele) คือยีนที่ประกอบหรือยีนที่อยู่กันเป็นคู่กันเฉพาะลักษณะหนึ่ง ๆ เป็นยีนที่อยู่บนตำแหน่ง
เดียวกันของโครโมโซมที่เป็นคู่กัน เช่น
T เป็นแอลลีล กับ t แต่ไม่เป็น แอลลีลกับ S หรือ s ซึ่งควบคุมลักษณะ
อื่น ลักษณะใดที่ถูกควบคุมด้วยแอลลีลมากกว่า 1
 คู่จะเรียกว่า multiple alleles
     Dominant Allele หมายถึงแอลลีลที่แสดงลักษณะให้เห็นได้ทั้งในสภาพที่เป็น homozygote และ heterozygote
        Recessive Allele หมายถึงแอลลีลที่จะแสดงลักษณะให้ปรากฏได้ก็ต่อเมื่อเป็น homozygote เท่านั้น
     แอนติเจน (antigen) โปรตีนบนผิวเซลล์ที่สามารถทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีที่เฉพาะกับชนิดของตัวเอง
อาจเป็นเชื้อโรคก็ได้
     แอนติบอดี (antibody) โมเลกุลโปรตีนที่สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจจับและทำลายแอนติเจนที่มากระตุ้น
หรือพลัดหลงเข้ามาในกระแสเลือดหรือภูมิคุ้มกัน
     ออโตโซม (autosome) โครโมโซมภายในนิวเคลียส ยกเว้นโครโมโซมเพศ แต่ละเซลล์ของมนุษย์
มี 46 โครโมโซม เป็น ออโตโซม 44 แท่ง อีก 2 แท่ง คือโครโมโซมเพศ
     เผือก (albino, albinism) สภาวะหรือคนที่ไม่สามารถสร้างสารสีชนิดเมลานินที่ตา ผม ผิวหนัง
ในมนุษย์เกิดจากพันธุกรรมแบบด้อยบนออโตโซม
     เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) การใช้เทคนิคที่ได้จากผลงานวิจัยทางชีวภาพมาพัฒนา
ผลผลิตต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต สุขอนามัยและการเกษตร
     เบส (base) ทางเคมีหมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับกรดแล้วได้เกลือกับน้ำ แต่ในทางพันธุศาสตร์ี้หมายถึง
สารประกอบไนโตรเจนชนิดพิวรีนหรือไพริมิดีนที่ทำพันธะกันในสายดีเอ็นเอ หรืออาร์เอ็นเอ เบสของดีเอ็นเอ
มี 4 ชนิดได้แก่ อะดีนีน(
A) กัวนีน(G) ไซโทซีน(C) และไทมีน(T) เบสของอาร์เอ็นเอมี 4 ชนิด เช่นกัน
ได้แก่ อะดีนีน(
A) กัวนีน(G) ไซโทซีน(C) และยูราซิล(U) คำนี้ยังมีความหมายอื่นในสาขาคณิตศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
     พาหะ (Carrier) คือ ผู้ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมปกติ แต่มียีนผิดปกติของลักษณะนั้นแฝงอยู่
     ผสมข้าม (cross, crossing) การผสมพันธุ์ระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียที่มาจากต่างต้นหรือ
ต่างดอกกัน การผสมของสัตว์เซลล์สืบพันธุ์ต่างตัวกัน
     การโคลน (cloning) กระบวนการผลิตหรือทำซ้ำเพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ หรือต้นใหม่ที่เหมือนต้นแบบเดิม
     เซนโตรเมียร์ (centromere) ส่วนของโครโมโซมที่เส้นใยสปินเดิลเข้าเกาะ และเป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อ
ระหว่างซิสเตอร์โครมาติด ในช่วงการแบ่งเซลล์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า
primary constriction
       โครมาติน (chromatin) ก้อนดีเอ็นเอและโปรตีนที่รวมกันเป็นโครโมโซมภายในนิวเคลียส
      โครมาติด (chromatid) แท่งหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งในสองหน่วยของโครโมโซมในระยะแบ่งเซลล์ที่มี
การสังเคราะห์ดีเอ็นเอเพิ่มเป็น 2 เท่า ทำให้ 1 โครโมโซมมี 2 โครมาติด
     ซิสเตอร์โครมาติด (sister chromatids) โครมาติดที่เกิดจากการสังเคราะห์ของโครโมโซมแท่งเดียวกัน
     Chromosome โครโมโซมคือโมเลกุล ดีออกซีไรโบนิวคลีโอโปรตีน อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในระหว่าง
การแบ่งเซลล์จะมองเห็นเป็นแท่งติดสีเข้ม ในเชิงพันธุศาสตร์โครโมโซมมีหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมไว้ใน
ลักษณะของการเรียงลำดับนิวคลีโอไทด์บนดีเอนเอ
     โครโมโซม x (x chromosome) โครโมโซมเพศแท่งยาวในสิ่งมีชีวิตที่เพศเมียมีโครโมโซมเพศเหมือนกัน 2 แท่ง (xx)
     วัฎจักรเซลล์ (cell cycle) ระยะต่างๆ ที่พบในการเจริญเติบโตของเซลล์ตั้งแต่อินเตอร์เฟสจนถึงสิ้นสุด
ไมโตซิส
     โคลน (clone) เซลล์ เนื้อเยื่อ หรือสิ่งมีชีวิตที่เกิดมาจากเซลล์เดียว มีความเหมือนกันทุกอย่าง
     ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing over) คือ ปรากฏการณ์ที่โครมาติดของโครโมโซมเส้นหนึ่งแลกเปลี่ยน
กับโครมาติดของโครโมโซมอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งเป็นโฮโมโลกัสกัน
     เด่น (dominance) ปรากฏการณ์ที่แอลลีลหนึ่งสามารถแสดงฟีโนไทป์ออกมาโดยสามารถข่มหรือบดบัง
การแสดงออกของอีกแอลลีลหนึ่งได้ เมื่อพันธุกรรมหนึ่งนั้นเป็นเฮทเทอโรไซกัสแล้วและมีโอกาสปรากฏในรุ่น
ต่อมาเป็นสัดส่วนมากกว่า เขียนด้วยตัวย่อภาษาอังกฤษตัวใหญ่แทนยีนเด่น เช่น สูง ถนัดมือขวา
     ด้อย (recessive) คำที่ใช้เรียกแอลลีลที่ไม่สามารถแสดงลักษณะออกมาเมื่ออยู่ในจีโนไทป์ที่เป็น
เฮทเทอโรไซกัสกับอีกแอลลีลหนึ่ง
     ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (Complete dominance) หมายถึงลักษณะที่แสดงออก (phenotype) ที่ gene
เด่นสามารถข่ม
gene ด้อยได้อย่างสมบูรณ์
     ข่มไม่สมบูรณ์ (incomplete dominance) การแสดงออกของพันธุกรรมที่แอลลีลหนึ่งไม่สามารถข่ม
อีกแอลลีลหนึ่งได้
     ลักษณะเด่นร่วม (Co-dominant) หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ gene แต่ละยีนที่เป็นแอลลีล (allele) กันมีลักษณะเด่นทั้งคู่ข่มกันไม่ลง จึงแสดงออกมาทั้ง 2 ลักษณะ เช่น กรรมพันธุ์ของหมู่เลือด AB
      ดับเบิลเฮลิกซ์ (double helix) รูปแบบการพันเกลียวแบบคู่ขนานกลับหัวท้ายของสายดีเอ็นเอ  ที่ค้นพบโดยวัทสันและคริก
      ดิพลอยด์ (diploid) สภาวะของสิ่งมีชีวิตที่แต่ละเซลล์ประกอบด้วยโครโมโซมที่เป็นคู่กัน 2 แท่ง (2 n)
      แฮพลอยด์ (haploid) เซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมครึ่งหนึ่งของปกติ
      ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint) โครโมโซมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละแห่งของแต่ละคน  ซึ่งสามารถนำมาวินิจฉัยความเป็นเจ้าของหรือคดีความต่างๆ ได้
      วิวัฒนาการ (evolution) กำเนิดของพืชและสัตว์จากบรรพบุรุษที่มีลักษณะโบราณกว่า
      เอนไซม์ (enzyme) โปรตีนที่ทำหน้าที่ควบคุมปฏิกิริยาทางชีวเคมีในเซลล์
      ลูก F1 (first filial generation) ลูกรุ่นที่ 1 ลูกที่เกิดจากการแต่งงานหรือผสมข้ามพันธุ์รุ่นแรกหรือ ลูกผสม (hybrid) ลูกที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ต่างกัน
      ลูก F2 (second filial generation) ลูกรุ่นที่ 2 ลูกที่เกิดจากการผสมภายในลูกรุ่นที่ 1 (ลูก F1)  หรือรุ่นหลาน
      จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง แบบของยีนที่อยู่เป็นคู่ ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตได้รับมาจากพ่อและแม่ มีหน้าที่ ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตในร่างกาย การเขียนจีโนไทป์ เขียนได้หลายแบบ เช่น TT , Tt , tt , T/T , T/t , t/t
      ฟีโนไทป์ (phenotype) หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็น เช่น ลำต้นสูงกับเตี้ย
      ยีน (gene) เป็นหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตและถ่ายทอด  จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ยีน T, ยีน t , ยีน R , ยีน r
      Polygene หรือ Multiple gene หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ ที่มียีน (gene) หลายคู่  (มากกว่า 2 alleles) ที่ทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อควบคุม phenotype อย่างเดียวกันจึงทำให้เกิดลักษณะที่มี ความแปรผันกันแบบต่อเนื่องคือลดหลั่นกันตามปริมาณของยีน เช่น ลักษณะความสูงเตี้ยของคน  จะมีตั้งแต่สูงมาก สูงปานกลาง เตี้ย
      ลิงค์ยีน (linked gene) คือ ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
      ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (Sex-linked gene หรือ x - linked gene) เป็นพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีน ที่อยู่บนโครโมโซม X แต่ไม่อยู่บนโครโมโซม Y เช่น ยีนที่แสดงสีตาของแมลงหวี่, โรคโลหิตไหลไม่หยุด
      จีโนม (genome) ลำดับ จำนวน และชนิดของยีนที่มีในสิ่งมีชีวิตแต่ละตัว
      จีเอ็มโอ (GMOs) สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแอลลีลพันธุกรรมบางตัว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
      พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เทคนิคการเปลี่ยนหรือดัดแปลงยีน กลุ่มยีน หรือ  หน่วยพันธุกรรมในเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยการคัดเลือก คัดออก แทรกใส่ หรือตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้นำมาใช้  ประโยชน์
      แกมมีต (gamete) เซลล์สืบพันธุ์ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์ปกติ มนุษย์มีเซลล์สืบพันธุ์  สองเพศคือเพศผู้คือ sperm และเพศเมียคือ egg
      รหัสพันธุกรรม (genetic code) กลุ่มรหัสที่มีลำดับเบส 4 ตัวในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอแต่ละรหัส   (โคดอน) ประกอบด้วยลำดับเบส 3 ตัวซึ่งจะทำหน้าที่ดึงกรดอะมิโนเฉพาะชนิดเข้ามาต่อกันในการสร้างโปรตีน
      พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต  จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง หรือจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน
      ฮีโมฟีเลีย (hemophilia) คือ โรคพันธุกรรม ซึ่งควบคุมโดยยีนเกี่ยวกับเพศ อาการของ โรคนี้ คือ   เลือดจะแข็งตัวช้า
      ลูกผสม (hybrid) ลูกที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ต่างกัน
      homozygouse เป็นสภาพของสิ่งมีชีวิตที่มียีน 2 ยีนเหมือนกัน ควบคุมลักษณะหนึ่ง เช่น
  TT = homozygouse  dominant gene (เด่นพันธุ์แท้)   
tt  = homozygouse  recessive gene (ด้อยพันธุ์แท้)
      heterozygouse เป็นสภาพของสิ่งมีชีวิตที่มียีน 2 ยีนแตกต่างกันและควบคุมลักษณะหนึ่ง
  เช่น  Tt  = heterozygouse  gene (พันธุ์ทาง = hybrid) 
      โลคัส (locus) ตำแหน่งที่อยู่ของยีนบนโครโมโซม
       Monohybrid cross หมายถึง การผสมพันธุ์โดยพิจารณาเพียงลักษณะเดียว แต่ถ้าเป็นการผสมพันธุ์  โดยศึกษาหรือพิจารณาทั้ง 2 ลักษณะควบคู่กัน เรียกว่า Dihybrid crosses
      ออร์แกเนลล์ (organelle) โครงสร้างขนาดเล็กในเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะด้าน ตัวอย่าง ไมโตคอนเดรีย
      อาร์เอ็นเอ (RNA) กรดไรโบนิวคลิอิก สายพอลินิวคลิโอไทด์แตกต่างจากดีเอ็นเอตรงที่เป็นสายเดี่ยว  ของน้ำตาลไรโบสและเบสไพริมิดีนเป็นชนิดยูราซิลแทนที่ไทมีน แบ่งเป็นไรโบโซมมัล อาร์เอ็นเอ (RNA)   เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ (m RNA) ทรานส์เฟอร์ อาร์เอ็นเอ (t RNA) และนิวเคลียร์อาร์เอ็นเอ
      เซลล์ร่างกาย (somatic cell) เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่มิได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์
      ผสมตัวเอง (selfing) การผสมของเซลล์สืบพันธุ์ภายในต้นพืชต้นเดียวกัน การผสมหรือปฏิสนธิ  ที่เกิดได้เอง
      พงศาวลี,เพดดีกรี (pedegree) แผนภาพแสดงลำดับ ความสัมพันธ์ของบุคคลในตระกูลเดียวกัน  เพื่อดูการถ่ายทอดพันธุกรรมหรือโรคพันธุกรรมบางชนิด
      พันธุ์แท้ (pure line = bred true) สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการผสมภายในประชากรเดียวกันมาเป็นเวลานาน  จนมีจีโนไทป์เป็นโฮโมไซกัสกัน หรือสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมแบบเดียวกันในประชากร
      Locus หมายถึงตำแหน่งของยีนบนโครโมโซม
      มิวเตชัน (mutation) คือ การเปลี่ยนแปลงของยีนที่ผิดไปจากเดิม ซึ่งลักษณะนี้ สามารถถ่ายทอด  สืบต่อไปยังรุ่นลูกและรุ่นต่อ ๆ ไป
      ไมโตซิส (mitosis) การแบ่งเซลล์ที่ทำให้ได้เซลล์ลูก 2 เซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม แบ่งเป็น  ระยะย่อย 4 ระยะคือ โพรเฟส เมตตาเฟส แอนนาเฟส และเทลโลเฟส ตามด้วยไซโตไคเนซิส
      ไมโอซิส (meiosis) การแบ่งเซลล์แบบที่มีการลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง พบในกระบวนการ  สร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้และเพศเมียในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง หลังจากแบ่งเสร็จแล้วจะได้เซลล์สืบพันธุ์ 4 เซลล์    เพศเมียจะมีเพียงเซลล์เดียวที่พัฒนาไปเป็นไข่ อีก 3 เซลล์จะฝ่อไป
      นิวเคลียส (nucleus) 1. ทางเคมีหมายถึงแกนกลางของอะตอมที่ประกอบด้วยโปรตรอนและนิวตรอน   2. ทางชีววิทยาหมายถึง ใจกลางของเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบภายใน เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม
      สปีชีส์ (species) ประชากรภายใต้กลุ่มเดียวกันที่สามารถผสมพันธุ์กัน และมีลูกสืบทอดสายพันธุ์ได้  โดยไม่เป็นหมัน
      เส้นใยสปินเดิล (spindle fiber) เส้นใยไฟเบอร์ที่สร้างจากการเรียงต่อกันของไมโครทิวบูล   พบในช่วงการแบ่งเซลล์ ทำหน้าที่ดึงโครมาติดให้แยกจากกัน ไปเป็นโครโมโซมอิสระในเซลล์ลูก
      ไตรโซมี (trisomy) สภาวะของเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง   ทำให้โครโมโซมที่เกินมานั้นมี 3 แท่ง
      กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) มี 2 ชนิด คือ
  1. DNA – ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรม  2. RNA - ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน
  ส่วนประกอบของ DNA กลุ่มฟอสเฟต น้ำตาลดีออกซีไรโบส เบสไซโตซีน เบสอะดีนีน เบสกวานีน เบสไทมีน
      ไซโกต (zygote) เซลล์ที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียเพื่อไปเป็นชีวิตใหม่

ตอบ  2
กฎเกณฑ์ทางพันธุกรรมที่เมนเดลค้นพบนั้นไม่ใช่จะใช้ได้เฉพาะกับต้นถั่วลิสงเท่านั้น แต่เป็นกฎที่ใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศรวมทั้งมนุษย์ด้วย มนุษย์มีโครโมโซม 23 คู่ แต่ละโครโมโซมมียีนมากมายหลายกลุ่มเรียงต่อๆ กันไป ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดตามกฎของเมนเดลเท่านั้นที่นักพันธุศาสตร์ได้ศึกษาไว้แล้วมีจำนวนมากมาย ซึ่งอาจแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ประเภทคือ ลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนในออโตโซม และลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนในโครโมโซมเพศ
ยีนในออโตโซม
โครโมโซมที่เป็นออโตโซมในคนมีอยู่ด้วยกัน 22 คู่ ในออโตโซมแต่ละคู่มียีนจำนวนมาก ตัวอย่างของยีนที่อยู่บนออโตโซมมี ดังนี้
ยีนที่ทำให้เกิด โรคทาลัสซีเมีย (thalassemia) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมทางโลหิตอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการโลหิตจางมาแต่กำเนิด มีดีซ่านร่วมด้วย ถ้าเป็นมากจะมีการเจริญเติบโตไม่สมอายุ ตับและม้ามโต หัวใจวายและอื่นๆ ยีนที่ทำให้เกิดโรคทาลัสซีเมีย เป็นยีนผิดปกติที่มีผลทำให้การสร้างพอลิเพปไทด์ในฮีโมโกลบินผิดปกติ ฮีโมโกลบินแต่ละโมเลกุลจะประกอบด้วยพอลิเพปไทด์ 4 สาย คือ สายแอลฟา 2 สาย และสายเบต้า 2 สาย และฮีมซึ่งมีเหล็กเป็นองค์ประกอบ ถ้าการสร้างพอลิเพปไทด์สายแอลฟาผิดปกติจะเป็นโรคแอลฟาทาลัสซีเมีย ส่วนการสร้างพอลิเพปไทด์สายเบตาผิดปกติจะเป็นโรคเบตาทาลัสซีเมีย
ยีนที่ทำให้เกิดโรคแอลฟาทาลัสซีเมีย เป็นยีนด้อยอยู่ในโครโมโซมคู่ที่ 16 ยีนที่ทำให้เกิดโรคเบตาทาลัสซีเมีย เป็นยีนด้อยที่อยู่ในโครโมโซมคู่ที่ 11 โรคทาลัสซีเมียจึงอาจจะมีจีโนไทป์ผิดปกติได้หลายแบบ
ในประเทศไทยมีประชากรที่มียีนทาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 20-30 คน ที่มีจีโนไทป์ซึ่งมีแอลลีลที่ผิดปกติ แต่ไม่แสดงอาการของโรค คนเหล่านี้เรียกว่า พาหะ (carrier) ซึ่งสามารถถ่ายทอดยีนที่ทำให้เกิดโรคทาลัสซีเมียได้ ถ้าพ่อและแม่บังเอิญเป็นพาหะของยีนทาลัสซีเมียชนิดเดียวกัน หรือชนิดที่เข้าคู่กันแล้วจะทำให้เกิดโรคก็มีโอกาสมีลูกเป็นโรคทาลัสซีเมีย 25% คนไทยเป็นโรคนี้ประมาณ 1% ของประชากร โรคทาลัสซีเมียจึงก่อให้เกิดปัญหามิใช่ทางการแพทย์ แต่ก็มีผลทางด้านสาธารณสุข สังคมและเศรษฐกิจ อีกด้วย
ในการศึกษาพันธุกรรมของคน นักพันธุศาสตร์นิยมใช้สัญลักษณ์ แสดงบุคคลต่างๆ ในครอบครัวทั้งที่แสดงลักษณะและไม่แสดงลักษณะที่กำลังศึกษาเท่าที่จะสามารถสืบค้นได้ แผนผังเช่นนี้เรียกว่า เพดดีกรี (pedigree)
มัลติเปิลแอลลีล (multiple alleles)
ลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะ มียีนในแต่ละกลุ่มแอลลีลมากกว่า 2 แบบขึ้นไป กลุ่มแอลลีลที่มียีนเกินกว่า 2 แบบขึ้นไป เราเรียว่า มัลติเปิลแอลลีล
หมู่เลือด ABO ของคนก็มียีนควบคุมอยู่ 3 แอลลีล คือ IA, IB, และ i (ลักษณะ I ใช้แทนแอลลีลที่ควบคุมการสังเคราะห์ สารไอโซแอกกลูติโนเจน (isoagglutinogen) ซึ่งเป็นแอนติเจนที่เม็ดเลือดแดง) โดย IA, IB เป็นแอลลีลที่ควบคุมการสังเคราะห์แอนติเจน A และ B ตามลำดับ ซึ่งต่างก็เป็นยีนเด่นทั้งคู่ ส่วน i เป็นแอลลีลที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถสังเคราะห์แอนติเจน A หรือ B ซึ่งเป็นยีนด้อย หมู่เลือดของคนจึงมีจีโนไทป์ และฟีโนไทป์หลายแบบดังนี้
ยีนในโครโมโซมเพศ
โครโมโซม X ของคนมีขนาดใหญ่กว่าโครโมโซม Y หลายเท่า ในโครโมโซม X มียีนจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งยีนควบคุมลักษณะทางเพศและยีนที่ควบคุมลักษณะอื่นๆ ด้วย นักพันธุศาสตร์เรียกยีนในโครโมโซม X และโครโมโซม Y ไม่ว่าจะควบคุมลักษณะเพศหรือไม่ก็ตามว่า ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (sex-linked gene) และเรียกยีนในโครโมโซม X ว่า ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับ X (X-linked gene) ตัวอย่างลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนในโครโมโซม X ได้แก่ ตาบอดสี โรคฮีโมฟีเลีย (hemophilia) และ ภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส (glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) หรือ G-6-PD
โรคฮีโมฟีเลียมีอาการเลือดแข็งตัวช้า เนื่องจากขาดสารอาหารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว เมื่อถูกอากาศผู้ป่วยจึงเสียเลือดมากเมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น ดังที่ปรากฏหลักฐานในราชวงศ์พระนางวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ตามตัวอย่างของเพดดรีกรี โรคนี้ควบคุมด้วยยีนด้อยในโครโมโซม X มีแอลลีลที่เกี่ยวข้องคือ H และ h มีจีโนไทป์ และฟีโนไทป์ ดังนี้
ยีนในโครโมโซมเดียวกัน
ได้กล่าวมาแล้วว่า ในโครโมโซมแต่ละโครโมโซมมียีนจำนวนมากมายหลายกลุ่ม สมมติว่า สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมีจีโนไทป์ A/a B/b และยีนกลุ่ม A, a กับกลุ่ม B, b อยู่ต่างโครโมโซมกัน ในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ย่อมจะเกิดเซลล์สืบพันธุ์ 4 แบบด้วยกัน ตามกฎข้อที่สองของเมนเดล คือ แบบ AB, Ab, aB และ ab แบบละเท่าๆ กัน ดังภาพ
ถ้าในโครโมโซมเดียวกันมียีนหลายยีน เช่น ในฮอมอโลกัสโครโมโซมที่มีกลุ่มยีน B, b เมื่อมีกลุ่มยีน C, c อยู่ใกล้ๆ บนโครโมโซมเดียวกัน เขียนจีโนไทป์ได้เป็น ในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เมื่อมีการแยกคู่ของฮอมอโลกัสโครโมโซม ยีนในโครโมโซมเดียวกันก็จะไปด้วยกัน จึงทำให้สิ่งมีชีวิตนี้สร้างเซลล์สืบพันธุ์ 2 แบบ คือ BC และ bc
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ขณะที่ฮอมอโลกัสโครโมโซมเข้าคู่กันนั้น โครโมโซมที่มาชิดกันมีโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนโครมาทิดซึ่งกันและกัน (crossing over) จึงทำให้ยีนในโครมาทิดถูกแลกเปลี่ยนไปด้วย การแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มยีน B, b กับกลุ่มยีน C, c จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากหรือน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างยีน 2 กลุ่มนี้ ถ้ายีนทั้งสองอยู่ชิดกันมากย่อมมีโอกาสแลกเปลี่ยนกันได้น้อย แต่ถ้าอยู่ห่างกันย่อมมีโอกาสมากขึ้นตามลำดับ เมื่อแลกเปลี่ยนกันแล้วจะทำให้มีเซลล์สืบพันธุ์จำนวนหนึ่งเป็นแบบ Bc และ bC แต่เซลล์สืบพันธุ์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแบบ BC และ bc เนื่องจากไม่มีการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนโครมาทิดกัน
ยีนที่มีแนวโน้มที่จะแยกตัวไปด้วยกัน ทำให้เซลล์สืบพันธุ์บางประเภทมากเป็นพิเศษ โดยที่ยีนไม่รวมกลุ่มกันอย่างอิสระตามกฎข้อที่สองของเมนเดล เราเรียกว่า ยีนที่เกี่ยวเนื่องกัน (linked genes) เช่น ยีน B, C กับยีน b, c เป็นยีนที่เกี่ยวเนื่องกัน แต่ยีน A, a กับ B, b ไม่ใช่ยีนที่เกี่ยวเนื่องกัน และเรียกยีนในฮอโมโลกัสโครโมโซมคู่เดียวกันว่า ยีนในกลุ่มเดียวกัน

ตอบ  1
ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)
   เรียกโดยทั่วไปว่า ไบรโอไฟต์ (bryophyte) มีทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ชนิด พืชในดิวิชันนี้มีขนาดเล็ก มีโครงสร้างง่าย ๆ ยังไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศยังต้องอาศัยน้ำสำหรับให้สเปิร์มที่มีแฟลกเจลลา (flagella) ว่ายไปผสมกับไข่ ต้นที่พบเห็นโดยทั่วไปคือแกมีโทไฟต์ (มีแกมีโทไฟต์เด่น) รูปร่างลักษณะมีทั้งที่เป็นแผ่นหรือแทลลัส (thallus) และคล้ายลำต้นและใบของพืชชั้นสูง (leafy form) มีไรซอยด์ (rhizoid) สำหรับยึดต้นให้ติดกับดินและช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ มีส่วนคล้ายใบ เรียก phylloid และส่วนคล้ายลำต้นเรียกว่า cauloid แกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์มีสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำให้อยู่ได้อย่างอิสระ เมื่อแกมีโทไฟต์เจริญเต็มที่จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือสเปิร์มและไข่ต่อไป ภายหลังการปฏิสนธิของสเปิร์มและไข่จะได้ไซโกตซึ่งแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอและสปอร์โรไฟต์ตามลำดับ สปอโรไฟต์ของ ไบรโอไฟต์มีรูปร่างลักษณะง่าย ๆ ไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระจะต้องอาศัยอยู่บนแกมีโทไฟต์ตลอดชีวิต พืชในดิวิชันนี้สร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว
   จำแนกพืชในดิวิชันไบรโอไฟตาได้เป็น 3 คลาส (Class) ดังต่อไปนี้
1.คลาสเฮปาทิคอปซิดา (Class Hepaticopsida) เรียกโดยทั่วไปว่า ลิเวอร์เวิร์ต (liverwort) มีอยู่ประมาณ 6,000 ชนิด แกมีโทไฟต์มีทั้งที่เป็นแทลลัส (thalloid liverwort) และที่คล้ายคลึงกับลำต้นและใบ (leafy liverwort) สปอโรไฟต์มีส่วนประกอบเป็น 3 ส่วน คือ ฟุต (foot) เป็นเนื้อเยื่อที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อแกมีโทไฟต์เพื่อทำหน้าที่ดูดอาหารมาใช้ ก้านชูอับสปอร์ (stalk หรือ seta) และอับสปอร์ (sporangium หรือ capsule) ที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์ ตัวอย่างของลิเวอร์เวิร์ตที่เป็นแทลลัส ได้แก่ Marchantia และที่มีลักษณะคล้ายลำต้นและใบ ได้แก่ Porella    แกมีโทไฟต์ของ Marchantia มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นแผ่นแบนราบ ตนอหลายแตกแขนงเป็น 2 แฉก (dichotomous branching) ด้านล่างของเทลลัสมีไรซอยด์ ด้านบนมักพบโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายถ้วย เรียกว่า เจมมา คัป (gemma cup) ภายในเนื้อเยื่อเจมมา (gemma) อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อแต่ละเจมมาหลุดออกจากเจมมาคัปแล้ว สามารถเจริญแกมีโทไฟต์ต้นใหม่ได้ นับเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพสแบบหนึ่งนอกเหนือไปจากการแยกออกเป็นส่วน ๆ (fragmentation) สเปิร์มและไข่ถูกสร้างขึ้นในอวัยวะที่มารวมกลุ่มเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นก้านชูที่เจริญอยู่บนแกมีโทไฟต์
2.คลาสแอนโทเซอรอปซิดา (Class Anthoceropsida) เรียกโดยทั่วไปว่า ฮอร์นเวิร์ต (hornwort) ไบรโอไฟต์ในดิวิชันนี้มีจำนวนไม่กี่ชนิด ตัวอย่างเช่น Anthoceros แกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแทลลัสขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างกลมมน ที่ขอบมีรอยหยักเป็นลอน ด้านล่างมีไรซอยด์ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแยกออกเป็นส่วน ๆ เช่นเดียวกับพวกลิเวอร์เวิร์ต ต้นสปอไรไฟต์มีรูปร่างเรียวยาว ฝังตัวอยู่ด้านบนของแกมีโทไฟต์ ประกอบไปด้วยฟุต และอัปสปอร์ขนาดยาว ซึ่งเมื่อเจริญเต็มที่ ปลายของอับสปอร์จะค่อย ๆ แตกออกเป็น 2 แฉก ทำให้มองดูคล้ายเขาสัตว์ จึงเรียกว่าฮอร์นเวิร์ต
3.คลาสไบรออฟซิดา (Class Bryopsida) เรียกโดยทั่วไปว่า มอส (moss) เป็น ไบรโอไฟต์กลุ่มที่มีมากที่สุด คือประมาณ 9,500 ชนิด ต้นแกมีโทไฟต์มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้นและใบ ส่วนที่คล้ายใบเรียงตัวเป็นเกลียวโดยรอบส่วนที่คล้ายลำต้น มีไรซอยต์อยู่ในดิน สปอโรไฟต์มีลักษณะง่าย ๆ เกิดบนปลายยอดหรือปลายกิ่ง มีส่วนประกอบคือ ฟุต ก้านชูอับสปอร์ และอับสปอร์


 
ตอบ  1
หลายท่านอาจยังไม่คุ้นหูกับคำว่า "ไบรโอไฟต์" แต่หากบอกว่า "มอสส์" บางท่านอาจจะพอนึกภาพออก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มอสส์จัดเป็นสมาชิกกลุ่มหนึ่งของไบรโอไฟต์เท่านั้น ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับไบรโอไฟต์กันให้มากยิ่งขึ้นกันดีกว่า       
          ไบรโอไฟต์มักขึ้นในที่ร่มและชุ่มชื้น เช่น ก้อนหิน เปลือกไม้ พื้นดิน เป็นต้น แต่บางครั้งเราอาจพบไบรโอไฟต์ขึ้นอยู่บนวัตถุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ท่อน้ำพีวีซี พื้นซีเมนต์ ตุ๊กตาดินเผา เป็นต้น ไบรโอไฟต์เป็นพืชบกสีเขียวที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ไม่มีดอก และไม่มีรากที่แท้จริง มีไรซอยด์ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเกาะ การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุสามารถเข้าสู่ภายในของต้นโดยผ่านเซลล์ได้ทุกเซลล์ ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ จึงได้นิยมนำไบรโอไฟต์มาใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (bioindicator) โดยเฉพาะเพื่อใช้ในการศึกษาผลกระทบทางด้านมลพิษในอากาศ เพราะไบรโอไฟต์สามารถดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง         
          ไบรโอไฟต์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต ไบรโอไฟต์มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของป่าในด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นพืชบุกเบิกในธรรมชาติ ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าที่รกร้างและแห้งแล้ง ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ที่สำคัญเซลล์ของไบรโอไฟต์ มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับน้ำได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว สามารถดูดซับได้ถึง 200-500% ของน้ำหนักแห้ง พืชกลุ่มนี้จึงเปรียบเหมือนฟองน้ำของป่าที่ช่วยดูดซับน้ำให้กับผืนป่า ไบรโอไฟต์จึงนับว่าเป็นพืชตัวน้อยที่นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่าเป็นอย่างมากกลุ่มหนึ่ง       
           ปัจจุบันมีการนำไบรโอไฟต์มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เช่น นำมาจัดตู้ปลา จัดสวน หรือแม้แต่นำมาเป็นวัสดุช่วยปลูกกล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าวิจัยในการสกัดสารเคมีจากไบรโอไฟต์บางชนิด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น มอสส์สกุลข้าวตอกฤาษี (Sphagnum) สามารถรักษาอาการตกเลือดอย่างเฉียบพลัน และโรคที่เกี่ยวกับตา (Pant, 1998) สำหรับประเทศไทยการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศที่มีการปลูกไบรโอไฟต์เป็นสินค้าส่งออกสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมากมาย อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรมีจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างดีตลอดไปด้วย
 

กิจกรรมทที่ 20-24 ธันวาคม 2553


ข้อ 19
ตอบ  3

ห่วงโซ่อาหาร
ในธรรมชาติ การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ มักมีความเกี่นวข้องกัน "การที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งกินสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งเพื่อที่จะดำรงชีวิต" พฤติกรรมตามธรรมชาตินี้เรียกว่า ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) และในห่วงโซ่อาหารจะมีความเชื่อมโยงกัน หรือที่เราเรียกว่า สายใยอาหาร (Food web) โดยทั่วไปในห่วงโซ่อาหารหนึ่งๆ จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่น้อยกว่า 6 ชนิด แต่ในหนึ่งสายใยอาหารอาจมีมากกว่า 1,000 ชนิดพืช คือผู้สร้าง (Producer) หรือ ผู้ผลิตอาหาร ซึ่งเป็นจุดแรกของห่วงโซ่อาหาร ผู้ที่กินผู้สร้าง เรียกว่า ผู้บริโภค (cnsumer) ซึ่งมีหลายระดับ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตหนึ่งอาจเป็นผู้บริโภคได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่สิ่งมีชีวิตนั้นกิน เช่น ถ้าคนกินถั่ว คนเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง แต่ถ้าวัวกินถั่วแล้วคนกินเนื้อวัว วัวจะเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง คนเป็นผู้บริโภคอันดับสองผู้บริโภคที่กินพืชเป็นอาหาร เรียกว่า Herbivore ถือเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง ผู้บริโภคที่กินสัตว์เป็นอาหาร เรียกว่า Cornivore ถือเป็น ผู้บริโภคตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป ผู้บริโภคอีกพวกหนึ่งกินทั้งพืชและสัตว์ เช่น มนุษย์ พวกนี้เรียกว่า Omnivoreห่วงโซ่อาหารมี 2 แบบ แบบที่หนึ่งเริ่มจากพืชไปยังสัตว์กินพืช และสัตว์กินสัตว์ ส่วนอีกแบบหนึ่งเริ่มจากซากพืช ซากสัตว์ พวกนี้ถูกย่อยสลายโดย "ผู้ย่อยสลาย" (Decomposer) เช่นไส้เดือน จุลินทรีย์จำพวกแบคทีเรีย เห็ด โดยซากสัตว์ที่ถูกย่อยสลาย จะให้ธาตุอาหารกลับลงไปในดินเพื่อเป็นอาหารของพืช แล้วกลับเข้าไปในห่วงโซ่อาหารแรกหมุนเวียนต่อไปไม่รู้จบ


 


ข้อ 20
ตอบ  2

วัฏจักรของสาร (Biogeochemical cycle)หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารหนึี่งไปอีกสารหนึ่ง
โดยการ เปลี่ยนแปลง ของสารจากสารหนึ่ง ไปยังอีกสารหนึ่ง โดยการเปลี่ยนตำแหน่งจากแหล่งหนึ่งไปยัง
อีกแหล่ง หนึ่งหรือจากสิ่งมีชีวิตชนิดชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่ง แต่ในที่สุดจะหมุนเวียนกลับไปยัง
สภาพเดิมอีก เช่น ออกซิเจนมีอยู่ตามแหล่งต่างๆ ทั่วไป

ออกซิเจนมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรโดยเริ่มจากพืชสร้างออกซิเจน โดยใช้้พลังงานแสงและ
คลอโรฟิลล์เ่ช่นเีดียวกับสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืช จะได้สารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารอาหาร
จากการสังเคราะห์ด้วยแสง

จากนั้นสาหร่ายและสัตว์ต่างมีการถ่ายทอดอาหารและ พลังงานในรูปของห่วงโซ่อาหาร สัตว์และพืช เมื่อหายใจออกจะปล่อยคาร์บอนออกมาในรูปของสาร ประกอบคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงอีกครั้ง

วัฏจักรของสารหรือการหมุนเวียนของสาร เป็นการหมุนเวียนจากสิ่งไม่มีชีวิตผ่านสิ่งมีชีวิตแล้วหมุนเวียน
กลับคืนสู่ธรรมชาติดังเดิม  องค์ประกอบตามธรรมชาติว่าด้วย สิ่งมีชีวิต ดำรงชีวิตโดยใช้แร่ธาตุและสารจากสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจะพบแร่ธาตุต่าง ๆ อยู่ตามธรรมชาติ ในรูปของสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์

โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัฏจักรของสารได้ดังนี้

1.  Hydrologic cycle  หมายถึง วัฏจักรของน้ำ
2.  Gaseouscycle หมายถึง วัฏจักรการเคลื่อนย้ายวัตถุที่แหล่งสำรองในบรรยากาศและทะเลเช่น วัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรออกซิเจน และวัฏจักไนโตรเจน
 3.  Sedimentary cycle 
หมายถึง    วัฏจักรการเคลื่อนย้ายธาตุที่มีแหล่งสำรองในพื้นดินใน รูปของแข็งสู่วัฏจักรเมื่อมีการผุกร่อน เช่น วัฏจักรฟอสฟอรัส วัฏจักรแคลเซียม วัฏจักรซัลเฟอร์


 


ข้อ 21
ตอบ  3
การเก็บตัวอย่าง/ตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้ง
ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH)
วิธีการตรวจวัด
อาจจะทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับงบประมาณ ความถูกต้อง แม่นยำ และความละเอียดของการใช้งาน เริ่มตั้งแต่วิธีการง่ายๆ โดยการเปรียบเทียบสีจนถึงการตรวจวัดด้วยอิเลคโทรด ซึ่งเป็นขั้นตอนที่อาศัยเครื่องมือที่มีราคาแพง เช่น pH Meter เป็นต้น
ค่า BODวิํีธีการตรวจวัด
การตรวจวัดค่า BOD สามารถทำได้หลายวิีธี แต่ละวิธีจะประกอบด้วยหลายขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมน้ำสำหรับเจือจาง วิีธีการเจือจาง การทำ Blank เพือจะเกิดการเปรียบเทีบให้ได้ทราบว่าค่า BOD ที่หาได้มีความเชื่อถือได้แค่ไหน
หลักการของวิีธีการตรวจวัด แบ่งออกเป็น 2 วิํีธีการใหญ่ๆ
วิีธีการที่ 1 การตรวจวัดโดยตรง (Direc Method) ได้แก่ การนำน้ำเสียมาตรวจวัดตามขั้นตอนโดยตรง ไม่ต้องทำ การเจือจาง โดยทั่วไปจะใช้กับน้ำที่ิพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสกปรกน้อย เช่น น้ำจากแม่น้ำ เป็นต้น
วิธีการที่ 2 การตรวจวัดโดยการเจือจาง เป็นวิธีที่ต้องเตรียมน้ำ สำหรับเจือจางเพื่อทำการเจือจางตัวอย่างน้ำ ก่อนที่จะทำการตรวจวัดตามขั้นตอน เนื่องจากตัวอย่างน้ำมีความสกปรกสูง หากไม่ทำการเจือจางลง ปริมาณออกซิเจน ในตัวอย่างน้ำจะไม่เพียงพอต่อการย่อยสลายสารอิืนทรีย์ได้หมด ทำใหไม่สามารถตรวจวัดค่าที่แท้จริง

ของแข็ง(Solids)
1. ของแข็งตกตะกอน
วิธีการตรวจวัด
ใช้ กรวยขนาดใหญ่ ข้างล่างมีขีดบอกปริมาตรเป็นมิลลิลิตรไว้ เทตัวอย่างใส่ไว้ในกรวยนี้แล้วตั้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ในสภาวะที่สงบผลที่ได้บอกในรูป มิลลิลิตร/ลิตร ของของแข็งที่ตะกอน
2. ของแข็งทั้งหมด (Total Solids) สำหรับการวิเคราะห์น้ำเสียประเภทต่างๆ นั้นค่าของแข็งทั้งหมดมีความสำคัญน้อยมาก เพราะยากที่จะแปลผลให้ได้ค่าที่แน่นอน ดังนั้นจึงนิยมบอกว่าความสกปรกของน้ำเสียด้วยค่า BOD และ COD อย่างไรก็ตามค่าของแข็งทั้งหมด สามารถใช้ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของน้ำเสียที่มีผลต่อการตกตะกอนได้
3. ของแข็งแขวนลอย (Suspened Solids) มีประโยชน์มากสำหรับการวิเคราะห์น้ำเสีย และเป็นค่าหนึ่งที่บอกถึงค่าความสกปรกของน้ำเสียนั้น ตลอดจนบอกถึงประสิทธิภาพของขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียต่างๆ การหาค่าของแข็งแขวนอยจึงมีความสำคัญเท่ากับค่า BOD
วิธีการตรวจวัดได้จากากรกรองด้วย Membrane Filter ของแข็งตกค้างจากการกรองนี้ เรียกว่า ของแข็งแขวนลอยนอกจากนี้ยังมีการหาค่าของแข็งในรูปอื่นๆ อีก เช่น Volatile Solids และ Fixed Solids ซึ่งเป็นการหาของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์ในน้ำด้วยวิีธีการเผา เป็นต้น



 


ข้อ 22
ตอบ  1

จากผลของภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect โดยภาวะโลกร้อน ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ, การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
         นอกจากนั้นมนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

         
ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก
         พลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีทั้งรังสีคลื่นสั้นและคลื่นยาว บรรยากาศของโลกทำหน้าที่ปกป้องรังสีคลื่นสั้นไม่ให้ลงมาทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกได้ โมเลกุลของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศชั้นบนสุดจะดูดกลืนรังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์จนทำให้อะตอมของก๊าซในบรรยากาศชั้นบนมีอุณหภูมิสูง และแตกตัวเป็นประจุ (บางครั้งเราเรียกชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยประจุนี้ว่า "ไอโอโนสเฟียร์" มีประโยชน์ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสำหรับการสื่อสาร) รังสีอุลตราไวโอเล็ตสามารถส่องผ่านบรรยากาศชั้นบนลงมา แต่ถูกดูดกลืนโดยก๊าซโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ที่ระยะสูงประมาณ 19 - 48 กิโลเมตร แสงแดดหรือแสงที่ตามองเห็นสามารถส่องลงมาถึงพื้นโลก รังสีอินฟราเรดถูกดูดกลืนโดยก๊าซเรือนกระจก เช่น ไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นโทรโปสเฟียร์ ส่วนคลื่นไมโครเวฟและคลื่นวิทยุในบางความถี่สามารถส่องทะลุชั้นบรรยากาศได้

         
สำหรับ บรรยากาศของโลกประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจน 78% ก๊าซออกซิเจน 21% ก๊าซอาร์กอน 0.9% นอกนั้นเป็นไอน้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนเล็กน้อย แม้ว่าไนโตรเจน ออกซิเจน และอาร์กอนจะเป็นองค์ประกอบหลักของบรรยากาศ แต่ก็มิได้มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิของโลก ในทางตรงกันข้ามก๊าซโมเลกุลใหญ่ เช่น ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน แม้จะมีอยู่ในบรรยากาศเพียงเล็กน้อย กลับมีความสามารถในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด และมีอิทธิพลทำให้อุณหภูมิของโลกอบอุ่น เราเรียกก๊าซพวกนี้ว่า "ก๊าซเรือนกระจก" (Greenhouse gas) เนื่องจากคุณสมบัติในการเก็บกักความร้อน หากปราศจากก๊าซเรือนกระจกแล้ว พื้นผิวโลกจะมีอุณหภูมิเพียง -18 องศาเซลเซียส ซึ่งนั่นก็หมายความว่าน้ำทั้งหมดบนโลกนี้จะกลายเป็นน้ำแข็ง
ก๊าซและสารที่มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน
         เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีมากที่สุดบนโลก มีอยู่ในอากาศประมาณ 0- 4% ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และอุณหภูมิ ในบริเวณเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรและชายทะเลจะมีไอน้ำอยู่มาก ส่วนในบริเวณเขตหนาวแถบขั้วโลก อุณหภูมิต่ำ จะมีไอน้ำในบรรยากาศเพียงเล็กน้อย ไอน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต ไอน้ำเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรน้ำในธรรมชาติ น้ำสามารถเปลี่ยนสถานะไปมาทั้ง 3 สถานะ จึงเป็นตัวพาและกระจายความร้อนแก่บรรยากาศและพื้นผิว
         ไอน้ำเกิดจากโดยฝีมือมนุษย์ 2 วิธี คือ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงหรือก๊าซธรรมชาติ และจากการหายใจและคายน้ำของสัตว์และพืชในการทำเกษตรกรรม


         ในยุคเริ่มแรกของโลกและระบบสุริยะ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศถึง 98% เนื่องจากดวงอาทิตย์ยังมีขนาดเล็กและแสงอาทิตย์ยังไม่สว่างเท่าทุกวันนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยทำให้โลกอบอุ่น เหมาะสำหรับเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ครั้นกาลเวลาผ่านไปดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่ขึ้น น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศลงมายังพื้นผิว แพลงก์ตอนบางชนิดและพืชตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มาสร้างเป็นอาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำให้ภาวะเรือนกระจกลดลง โดยธรรมชาติก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นจากการหลอมละลายของหินปูน ซึ่งโผล่ขึ้นมาจากปล่องภูเขาไฟ และการหายใจของสิ่งมีชีวิต
         ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเผาไหม้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม การเผาป่าเพื่อใช้พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยและการทำปศุสัตว์ เป็นต้น โดยการเผาป่าเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้โดยเร็วที่สุด เนื่องจากต้นไม้มีคุณสมบัติในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเมื่อพื้นที่ป่าลดน้อยลง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงลอยขึ้นไปสะสมอยู่ในบรรยากาศได้มากยิ่งขึ้น และทำให้พลังงานความร้อนสะสมบนผิวโลกและในบรรยากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 1.56 วัตต์/ตารางเมตร (ปริมาณนี้ยังไม่คิดรวมผลกระทบที่เกิดขึ้นทางอ้อม)

ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ( co2) มาจากประเทศไหนมากที่สุด
จากตัวเลขที่ได้สำรวจล่าสุดนั้นเรียงตามลำดับประเทศที่ปล่อยควันพิษของโลกมีปริมาณสะสมมาตั้งแต่ปี 1950 ดังนี้
สหรัฐอเมริกา 186,100 ล้านตัน
สหภาพยุโรป 127,800 ล้านตัน
รัสเซีย 68,400 ล้านตัน
จีน 57,600 ล้านตัน
ญี่ปุ่น 31,200 ล้านตัน
ยูเครน 21,700 ล้านตัน
อินเดีย 15,500 ล้านตัน
แคนาดา 14,900 ล้านตัน
โปแลนด์ 14,400 ล้านตัน
คาซัคสถาน 10,100 ล้านตัน
แอฟริกาใต้ 8,500 ล้านตัน
เม็กซิโก 7,800 ล้านตัน
ออสเตรเลีย 7,600 ล้านตัน